HOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรก
 
   แคนา
 
   เสลา
 
   อินทนิลบก
 
   ลำดวน
 
   สนมังกร
 
   ไทรทอง
 
   ชายผ้าสีดา
 
   เฟินข้าหลวงหลังลาย
 
   เฟินนาคราช
 
   เฟินงาม พันธุ์ขนนก
 
   เฟินราชินีเงิน
 
   เดหลี
 
   เฮลิโคเนีย
 
   เศรษฐีเรือนนอก
 
   เล็บครุฑ
 
   ข่อย
 
   อเมซอนใบกลม
 
   ชวนชม
 
   เตย
 
   พลูด่าง
 
   เข็ม
 
   จั๋ง
 
   โมก
 
   แก้ว
 
   ว่านน้ำ
 
   กล้วยพัด


Google
 

พลูด่าง
ชื่อสามัญ Devil's ivy
ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Scindapsus aureus
ตระกูล 
ARACEAE
ถิ่นกำเนิด
โพลีนิเซีย เกาะโซโลมอน

ลักษณะทั่วไป

พลูด่าง เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจสีเขียวสด สลับกับสีเหลือง นวล ต้นมีลักษณะอ่อนซ้อย    พลูด่างนี้ ถ้านำมาปลูกใส่กระถางแขวนให้ ห้อยย้อยจะสวยงามมาก  พลูด่างมีดอกเหมือนกัน    แต่ดอกไม่สวยงามจึงไม่ได้รับความ สนใจเท่าใด พลูด่างเป็นพืชที่มีรากอากาศ และจะเจริญเติบโตเร็วมากเมื่อมันเจริญเติบโต จนยาวมากเกินไป เราก็ตัดมาชำไว้ในแจกัน หรือขวดมันก็จะเจริญเติบโตต่อไปได้ พลูด่าง เป็นพืชที่ชอบแสงสว่าง    ถ้านำไปปลูกประดับในห้อง    หรืออาคารสถานที่จะต้องให้ได้ รับแสงสว่างพอสมควร      ถ้าแสงไม่พอจะใช้แสงไฟฟ้าแทนก็ได้


พลูด่าง
 


 
การดูแลรักษา :

แสง                             ต้องการแสงแดดมาก ถ้าขาดแสงหรือแสงไม่พอ สีของใบจะซีดไม่สวย

อุณหภูมิ                      ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 18 - 24 องศาเซลเซียส

ความชื้น                      ชอบความชื้นพอสมควร ถ้าหากอากาศภายในห้องแห้งแล้ง ควรฉีดพ่นละอองน้ำให้

น้ำ                                ควรให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นหน้าร้อนอาจจะให้มากกว่านี้ก็ได้โดยเช็คจากผิวหน้าของดินใน
                                     กระถาง

ดินปลูก                         ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบไม้ผุๆ 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน

ปุ๋ย                                ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำอย่างเจือจางรดเดือนละ 1 ครั้ง

กระถาง                        ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกระถางบ่อย 2-3 ปี อาจจะเปลี่ยนสักครั้งก็ได้

การขยายพันธุ์              ปักชำ

โรคและแมลง              ต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดี


ข้อมูลจาก : http://www.maipradabonline.com

 

Google