HOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรก
 
   แคนา
 
   เสลา
 
   อินทนิลบก
 
   ลำดวน
 
   สนมังกร
 
   ไทรทอง
 
   ชายผ้าสีดา
 
   เฟินข้าหลวงหลังลาย
 
   เฟินนาคราช
 
   เฟินงาม พันธุ์ขนนก
 
   เฟินราชินีเงิน
 
   เดหลี
 
   เฮลิโคเนีย
 
   เศรษฐีเรือนนอก
 
   เล็บครุฑ
 
   ข่อย
 
   อเมซอนใบกลม
 
   ชวนชม
 
   เตย
 
   พลูด่าง
 
   เข็ม
 
   จั๋ง
 
   โมก
 
   แก้ว
 
   ว่านน้ำ
 
   กล้วยพัด


Google

 

เล็บครุฑ

ชื่อสามัญ  Polyscias

ชื่อวิทยาศาสตร์
 Polyscias sp.

ตระกูล
  ARALIACEAE

ชนิดเล็บครุฑที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล
ุ์

เล็บครุฑ
 


  1. เล็บครุฝอย Ming Aralia

2. เล็บครุฑทอง เล็บครุฑใบเฟิร์น Fern Leaf Aralia

3. เล็บครุฑบริพัตร White Aralia

4. เล็บครุฑใบกุหลาบ Variegated Rose Leaf Panax

ลักษณะทั่วไป

เล็บครุฑเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีผิวเปลือกสีเขียวหรือสีน้ำตาล ลำต้นเป็นข้อเล็ก ๆ ผิวเปลือกเรียบหรือมีจุดเล็ก ๆ ประอยู่ทั่วต้น ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยติดอยู่ที่ก้านใบประมาณ 5-7ใบ ขอบใบเป็นหยัก ใบมีสีเขียวเมื่อขยี้ใบดูจะมีกลิ่นฉุน ลักษณะของใบและขนาด ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเล็บครุฑไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครองและป้องกันภัยเพราะ ครุฑ หรือ คุตติ คือการคุ้มครองรักษาให้เกดความสงบสุขและปลอดภัย นอกจากนี้ลักษษระของใบเล็บครุฑ ยังมีลักษณะคล้ายเล็บของพญาครุฑ ซึ่งโบราณเชื่อว่าสามารถช่วยป้องกันภัยอันตรายจากศัตรูภายนอกได้

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเล็บครุฑไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบ ให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูก

การปลูกมี 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตรา 2 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของราก แน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้านขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา

แสง                          ต้องการแสงแดดปานกลาง หรือรำไร

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย ดินปนทราย

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์         การตอนกิ่ง การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ

โรค                           ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสมควร

ศัตรู                          เพลี้ยต่าง ๆ

อาการ                 
กัดกินใบเป็นรอย เป็นรู และกัดดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนยอด ทำให้ยอดหักเหี่ยวแห้งในที่สุด
                                 
การป้องกัน
              รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก

การกำจัด                  ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

 

  ข้อมูลจาก : http://www.maipradabonline.com  

Google