HOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรก
 
   แคนา
 
   เสลา
 
   อินทนิลบก
 
   ลำดวน
 
   สนมังกร
 
   ไทรทอง
 
   ชายผ้าสีดา
 
   เฟินข้าหลวงหลังลาย
 
   เฟินนาคราช
 
   เฟินงาม พันธุ์ขนนก
 
   เฟินราชินีเงิน
 
   เดหลี
 
   เฮลิโคเนีย
 
   เศรษฐีเรือนนอก
 
   เล็บครุฑ
 
   ข่อย
 
   อเมซอนใบกลม
 
   ชวนชม
 
   เตย
 
   พลูด่าง
 
   เข็ม
 
   จั๋ง
 
   โมก
 
   แก้ว
 
   ว่านน้ำ
 
   กล้วยพัด


Google



 

ชายผ้าสีดา

เฟินสกุลชายผ้าสีดา Platycerium (plat-ee-sir-ee-um) ในบ้านเรา ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" และภาคเหนือเรียก "ห่อข้าวสีดา" หรือ "หัวเฒ่าย่าบา"

ชื่อ "สีดา" นี้เป็นชื่อของนางเอกในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ในขณะที่ทางต่างประเทศเขาไม่มีตัวละครแบบเรา จึงตั้งชื่อเปรียบกับเขาของกวาง ที่แตกเป็นแฉก หรือเปรียบเป็นมงกุฏของนางฟ้า

ชื่อสกุล Platycerium มาจากคำในภาษากรีกว่า platys+kera (platy แปลว่า broad เป็นแผ่น และ keras แปลว่า horn เขาของสัตว์) นอก จากนี้ ยังมี นิทานเพื้นบ้านของคนไท ในดินแดนประเทศจีนปัจจุบัน เล่าเกี่ยวกับเฟินชายผ้าสีดาอีกด้วย

เฟินชายผ้าสีดา เป็นเฟินที่มีเสน่ห์ มีลักษณะที่แตกต่างจากเฟินทั่วไป จัดอยู่ในจำพวกไม้อากาศ  ในธรรมชาติพบเกาะอยู่ตามคาคบไม้   แต่ไม่ได้เป็นไม้กาฝาก   เพียงขอเกาะอาศัย

ชายผ้าสีดา
 


 

้เพื่อรับแสงแดดและลม หรืออาจพบเกาะอยู่ตามโขดหิน หน้าผาหิน ก็มี พบอยู่ในเป่าเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก ด้วยเสน่ห์น่าหลงไหลของเฟินชายผ้าสีดา จึงเป็นที่นิยมนำมาปลูกประดับสถานที่ กำแพงบ้าน หรือกระถางแขวน กระเช้าแขวน หรือเกาะบนต้นไม้ใหญ่ในสวน

ลักษณะทั่วไป : เป็นเฟินเกาะอาศัย ที่ดูแปลกตา แตกต่างจากเฟินทั่วไป ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีทั้งชนิดที่เจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ทั้งต้นประกอบด้วยแผ่นใบหนา เจริญซ้อนทับและประสานกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหัวกระเช้า ทั้งยังมีใบอีกแบบงอกออกมาจากจุกตาบนหัวกระเช้า ในบางชนิดใบงอกออกมาชูตั้งขึ้น บางชนิดเป็นใบห้อยย้อยลงมา หรือใบกึ่งตั้งและปลายห้อยลงมา ก็มี

ลำต้น เป็นเหง้าเป็นแท่ง เลื้อยสั้น มีบางชนิดเหง้าแตกเป็นกิ่งสาขา ระบบรากทำหน้าที่ยึดเกาะต้นกับสิ่งที่เกาะอาศัย ใบปกคลุมด้วยขนรูปดาว ขนทำหน้าปกป้องแสงแดด และรักษาความชื้นไม่ให้ระเหยได้ง่าย รวมถึงยังช่วยดักจับความชื้นในอากาศได้อีกด้วย

ลักษณะใบ ใบมี 2 รูปแบบ (dimorphic) คือ
ใบกาบ (shield frond หรือ sterile frond
) ทำหน้าที่ห่อหุ้มระบบราก เพื่อรักษาความชื้นเอาไว้และโอบยึดเกาะที่อยู่อาศัย บางชนิดใบชูตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำ เศษใบไม้และอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นมาจากด้านบน กลุ่มนี้มักเป็นชายผ้าสีดาที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้ง บางชนิดใบกาบแผ่หุ้มระบบรากจนมิด ซึ่งกลุ่มนี้มักเป็นชนิดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้นหรือฝนชุก sterile frond บางแห่งอาจเรีรยกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบกาบ, ใบโล่, ใบโอบ, shield frond, base frond เป็นต้น

ส่วนใบอีกแบบ แผ่สยายเป็นริ้ว เรียก
ใบชายผ้า หรือใบเขากวาง (fertile frond)
บางชนิดเป็นริ้วห้อยสยายลง บางชนิดตั้งชูขึ้น บางชนิดใบมีขนคลุมหนาแน่น ทำหน้าที่ลดการคายน้ำของใบ ใบชายผ้า หรือ fertile frond ในบางแห่งอาจเรียกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบชายผ้า ใบเขา, Normal frond, True frond, Foliage frond เป็นต้น

อับสปอร์ เกิดทางด้านล่างของใบชายผ้าอยู่รวมกันเป็นพืด บางชนิดอับสปอร์อยู่ที่ปลายหรือขอบของใบชายผ้า บางชนิดเกิดบนอวัยวะพิเศษที่โคนก้านของใบชายผ้า

เฟินชนิดนี้มีทั้งหมด 18 ชนิด มี 5 ชนิดในออสเตเรียและอินโดนีเซีย, 3 ชนิดในอาฟริกา, 4 ชนิดบนบนเกาะมาดากัสกา, 6 ชนิดในเอเซีย และมี 1 ชนิดในอเมริกา สำหรับในไทยพบ 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมมากของคนรักต้นไม้ ทำให้มีการเก็บจากป่าธรรมชาติ หรือตามสวนยาง สวนผลไม้ออกมาขาย เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันราคาที่ซื้อ-ขายกัน นับวันขยับแพงขึ้น หาเก็บได้ยากขึ้น หรือต้องเข้าป่าลึกเข้าไปเรื่อยๆ แต่ความต้องการของนักเล่นต้นไม้ นับวันทวีมากขึ้น

หลักการทั่วไปสำหรับการปลูกเลี้ยงเฟินชายผ้าสีดา :

เฟินชายผ้าสีดาทุกชนิด เป็นเฟินเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือตามหน้าผาหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูงในบรรยากาศ มีความต้องการแสงแดดปานกลางถึงมาก สำหรับหลักการปลูกที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นเพียงหลักการทั่วไป สำหรับชายผ้าสีดาแต่ละชนิดแล้ว มีข้อแตกต่างปลีกย่อยบ้าง ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจถึง ธรรมชาติถิ่นที่อยู่อาศัย ลักษณะโครงสร้างของต้นประกอบด้วย

การให้น้ำ : หลักสำคัญที่สุดเลย คือ เฟินชายผ้าสีดาทุกชนิด ไม่ชอบให้น้ำเปียกชุ่มแฉะที่ระบบรากอยู่ตลอดเวลา ในช่วง 1-3 วัน จำเป็นต้องมีช่วงที่ระบบรากแห้งสนิทบ้าง มิฉนั้นแล้ว จะทำให้ชายผ้าสีดามีโอกาสเน่าและตายได้ ดังนั้น การให้น้ำ ให้น้ำชุ่มสักครั้ง แล้วรอให้ระบบรากแห้งก่อน จึงจะให้อีกครั้ง สำหรับระยะเวลาการให้น้ำแต่ละครั้ง ขึ้นกับการจัดสภาพแวดล้อมของสถานที่ปลูกเลี้ยงแต่ละแห่ง แต่ละฤดูกาล โดยมั่นสังเกตว่า การให้น้ำชุ่มแต่ละครั้ง กว่าระบบรากจะแห้งใช้เวลานานเพียงใด บางแห่งให้น้ำตอนเช้า บ่ายๆ ก็แห้งสนิทแล้ว แต่บางแห่งอาจใช้เวลา 1-2 วันกว่าจะแห้ง นอกจากนี้ในแต่ละวัน สามารถให้น้ำเป็นฝอยละออง พอให้ใบเปียกชุ่มแต่ไม่ต้องให้น้ำลงไปเปียกที่ระบบราก ก็จะเป็นการดี เป็นการช่วยให้ชายผ้าสีดาดูสดใสตลอด

การให้ปุ๋ย : ควรใช้ปุ๋ยละลายน้ำสูตรเสมอ ให้ด้วยการฉีดพ่นเดือนละครั้ง หากผสมฮอร์โมนเร่งรากจางๆ จะช่วยให้เติบโตได้เร็ว หรือจะใช้ปุ๋ยเม็ดปุ๋ยคอกใส่ก็ได้ แต่ใช้น้อยๆ ใส่ลงไปที่ระบบรากหลังใบกาบหรือใต้ใบกาบ

วิธีปลูกเกาะ : ควรเลือกปลูกเกาะกับตอไม้ แผ่นไม้ ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่ผุเปื่อยเร็ว หรือปลูกติดภาชนะที่ทนทาน เช่น โอ่งดินเผา แผ่นกระเบื้อง กำแพง เป็นต้น และหากสามารถปลูกติดกับต้นไม้ได้ยิ่งสวยงาม เหมือนสภาพในธรรมชาติ หากต้นที่ย้ายมา มีระบบรากมาน้อย อาจเสริมเครื่องปลูกบ้าง เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้น เช่น ใช้รากชายผ้าสีดา sphagnum moss กาบมะพร้าว เส้นใยมะพราว ท่อนลำต้นพวกเฟินต้น Tree Fern เป็นต้น โดยให้รองเครื่องปลูกไว้กับตำแหน่งที่จะผูกเกาะ สำหรับการจัดวางตำแหน่ง ควรปลูกให้ตาเหง้าชี้ขึ้น หรือโคนใบใหม่อยู่ด้านบน หากติดผิดให้ตาเหง้าชี้ลง ใบใหม่ที่ออกมาจะบิดงอชูขึ้นทำให้ไม่สวย หรืออาจไม่เจริญเติบโตได้ดีเท่าที่ควร การผูกยึด อาจใช้ลวด สายไฟ เชือก แถบพลาสติคเหนียว เอ็น เป็นต้น มัดทาบให้แน่นไม่เคลื่อน อย่าให้ลวดหรือเชือกทับตาเหง้า โดยไขว้เป็นตัว X ด้านหน้าของต้นและปลายเชือกนำไปผูกยึดไว้ด้านหลัง

ปลูกในกระเช้าแขวน : หากไม่สะดวกที่จะปลูกเกาะ ก็สามารถเลือกปลูกในกระเช้าแขวนก็ได้ กระเช้าไม้แบบที่นิยมปลูกกล้วยไม้ กระเช้าเหล็กดัด กระถางมีรูด้านข้าง เป็นต้น แต่ควรเลือกกระเช้าที่มีรูหรือช่องข้างกระเช้ามากสักหน่อย เพื่อให้ระบายน้ำและอากาศได้ดี โดยเฉพาะชนิดที่แตกหน่อต้นใหม่ได้ ต้นอ่อนจะเกิดตามช่องหรือรูดังกล่าวได้ และหากเลือกกระเช้าแขวนชนิดที่ช่องโหว่ใหญ่สักหน่อย จะสามารถปาดเอาต้นอ่อนใหม่ออกมาได้ง่ายกว่าด้วย

ในระยะแรกๆ ใช้ฮอร์โมนแร่งราก เช่น B1 ฉีดพ่นให้ 3 วันครั้งแล้วทิ้งห่างไปเป็นสัปดาห์และครั้งและเดือนละครั้ง จะช่วยให้รากติดเร็วและเติบโตได้เร็ว

การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะสปอร์ หรือชนิดที่แตกหน่อต้นใหม่ สามารถปาดแยกหน่อที่โตแล้วไปปลูกแยกได้
สำหรับการขยายพันธุ์โดยการเพาะสปอร์ ในเรื่องของระยะเวลาในการเพาะ ตั้งแต่หว่านจนเกิดต้นอ่อนใหม่ให้เห็น แต่ละชนิด กินระยะเวลานานไม่เท่ากัน



 

  ข้อมูลจาก : http://www.fernsiam.com
ภาพประกอบ : สุวิวัฒน์  หงษ์สมบัติ