HOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรก
 
   แคนา
 
   เสลา
 
   อินทนิลบก
 
   ลำดวน
 
   สนมังกร
 
   ไทรทอง
 
   ชายผ้าสีดา
 
   เฟินข้าหลวงหลังลาย
 
   เฟินนาคราช
 
   เฟินงาม พันธุ์ขนนก
 
   เฟินราชินีเงิน
 
   เดหลี
 
   เฮลิโคเนีย
 
   เศรษฐีเรือนนอก
 
   เล็บครุฑ
 
   ข่อย
 
   อเมซอนใบกลม
 
   ชวนชม
 
   เตย
 
   พลูด่าง
 
   เข็ม
 
   จั๋ง
 
   โมก
 
   แก้ว
 
   ว่านน้ำ
 
   กล้วยพัด


Google



 

เฟินนาคราช

เฟินวงศ์นี้มีชื่อสามัญเรียกว่า Foot Ferns, Rabbitsfoot, Hairsfoot, Lacy hairsfoot, Giant hairsfoot and Australian hairsfoot. ซึ่งเรียกตามลักษณะของเกล็ด หรือขนที่เหง้านั่นเอง ส่วนในบ้านเรา เรียกเฟินในสกุลนี้ว่า เฟินนาคราช ตามลักษณะของเหง้าที่เป็นเถาเลื้อย

เฟินนาคราช
เป็นเฟินที่มีเหง้าเลื้อยไปได้ไกล ทั้งบนพื้นดิน โขดหิน และบนต้นไม้ มักอยู่รวมกับพวกมอส หรือบนเศษซากใบไม้กิ่งไม้ หรือบนพื้นทรายที่มีอินทรีย์วัตถุมาก มักพบ

เฟินนาคราช
 


 
อยู่ใกล้บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ได้รับแสงแดดบ้างบางชั่วโมงในแต่ละวัน เป็นเฟินที่ใบสวยงาม เพิ่มลวดลายประดับป่าธรรมชาติให้ดูสวยงาม

เหง้าของนาคราช บางครั้งพบยึดเกาะติดกับต้นไม้ หรือหินที่มันเกาะอยู่อย่างแน่นหนา ด้วยระบบรากที่ออกจากเหง้าของมัน และบางครั้งจะเห็นยอดเหง้าชูขึ้นไปในอากาศ เหง้าของนาคราชปกคลุมด้วยเกล็ด หรือขนจำนวนมาก ทำให้มองดูคล้ายเท้าของสัตว์ ส่วนก้านใบ เป็นก้านผอมยาวสีเขียว โคนก้านสีดำ ไม่มีขน ใบมีทั้งชนิดหยาบ และละเอียด รูปทรงใบเป็นสามเหลี่ยม หนาคล้ายหนัง ส่วนใหญ่ใบมีสีเขียว เป็นมัน แถวของอับสปอร์ เกิดบนเส้นใบใกล้ขอบใบย่อย อับสปอร์มีรูปร่างเป็นถ้วยกลม ทีเยื่ออินดูเซียติดที่ส่วนโคนและด้านข้าง

เฟินสกุลนี้มีจำนวนราว 40 ชนิด พบทั้งในป่าเขตร้อน ไปจนถึงป่าเขตหนาว กระจายพันธุ์อยู่ใน เอเซีย อาฟริกา ออสเตเรีย โพลีนีเซีย และ ยุโรปฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ โดยมากมักพบอยู่ตามชายป่าเขตฝน ที่ใกล้ลำธาร บางชนิดเจริญเติบดตตลอดทั้งปี และมีบางชนิดพักตัวในช่วงหน้าแล้ง บางชนิดพักตัวทิ้งใบหลุดร่วงจนหมด แต่บางชนิดเติบโตอย่างช้า ๆ

เฟินนาคราช นอกจากจะมีคุณค่าในแง่ของไม้ปลูกประดับแล้ว ยังสามารถทำเป็นไม้ตัดใบ นำมาประดับทั้งใบสด และใบแห้ง หากไปที่ตลาดดอกไม้แถวปากคลองตลาด เราจะเห็นมีใบของเฟินนาคราชมาวางจำหน่ายด้วย

การปลูกเลี้ยง

ปลูกเลี้ยงในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ได้แสงแดด 50% หรือแสงที่ได้พรางไว้บางส่วน หากต้องการนำมาปลูกเลี้ยงในอาคาร ควรหมั่นพ่นฝอยละอองน้ำให้บ่อย เพื่อให้มีความชื้นมากๆ

ภาชนะปลูก : เหมาะที่จะปลูกเป็นกระถางแขวนได้ดี เพื่อให้สามารถได้รับแสง และอากาศถ่ายเทสะดวก โดยได้ความชื้นที่ระเหยขึ้นมาจากด้านล่าง หรือจะใช้กะบะไม้แขวน ก็ได้ หรือหากจะปลูกเป็นกระถางตั้งก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน โดยเลือกกระถางระบายน้ำได้ดี อย่างกระถางปลูกกล้วยไม้ ที่มีเจาะรูด้านข้าง
นอกจากนี้ ยังเคยเห็นบางคนเอาปลูกลงในไห ปากกว้าง มีเหง้าเลื้อย ยาวห้อยออกมาจากไห ดูสวยงามดี เพราะเสน่ห์ของเฟินนาคราชอยู่ที่เหง้ายาวๆ และมีขนปกคลุม

เครื่องปลูก เลือกวัสดุที่โปร่งและระบายน้ำได้ดี สามารถเก็บความชื้นได้ดี เช่น รากชายผ้าสีดา มอส หรือพีทมอส แต่หากใช้กาบมะพร้าวสับ ต้องคอยสังเกต เพราะหากปลูกไปนานๆ กาบมะพร้าวเสื่อม จะทำให้อุ้มน้ำได้มากเกินไป ทำให้เหง้าของเฟินเน่าได้

การให้น้ำ
ให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากอากาศแห้งมาก โดยรดให้ชุ่มทั่วบริเวณที่ปลูกเลี้ยง จะทำให้มีความชื้นในอากาศ ทำให้เฟินนาคราชสามารถโตได้เร็ว แต่หากในช่วงที่อากาศเย็น ไม่ควรรดน้ำบ่อย เพราะเฟินนาคราชจะพักตัวในหน้าหนาว ควรรดเพียงเพื่อรักษาความชื้นตลอดฤดูเท่านั้น

การขยายพันธุ์
ทำได้ทั้งเพาะสปอร์และชำเหง้า สามารถทำได้ โดยตัดเหง้าเป็นท่อนด้วยมีดคม ให้มีตาใบอย่างน้อย 2-3 ตา และหากมีรากติดไปด้วยยิ่งดี นำไปชำไว้กับดินทราย หรือทรายผสมใบไม้ผุ โดนฝังเหง้าลงประมาณครึ่งหนึ่งของความหนา อย่ากลบเหง้าจนมิด กรณีที่มีใบติดมาด้วย อาจใช้ลวดกดทับพยุงไม่ให้ก้านใบล้ม

ข้อควรระวัง
: ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะ โดยเฉพาะที่ยอดเหง้า อีกทั้งสภาพอากาศที่แห้ง หรือความชื้นไม่พอจะทำให้ปลายยอดเหง้าเหี่ยวแห้งได้ อีกทั้งแมลงชอบกัดกินใบและยอดเหง้าของนาคราชด้วย

ข้อมูลจาก : http://www.fernsiam.com

 

Google