HOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรก
 
   แคนา
 
   เสลา
 
   อินทนิลบก
 
   ลำดวน
 
   สนมังกร
 
   ไทรทอง
 
   ชายผ้าสีดา
 
   เฟินข้าหลวงหลังลาย
 
   เฟินนาคราช
 
   เฟินงาม พันธุ์ขนนก
 
   เฟินราชินีเงิน
 
   เดหลี
 
   เฮลิโคเนีย
 
   เศรษฐีเรือนนอก
 
   เล็บครุฑ
 
   ข่อย
 
   อเมซอนใบกลม
 
   ชวนชม
 
   เตย
 
   พลูด่าง
 
   เข็ม
 
   จั๋ง
 
   โมก
 
   แก้ว
 
   ว่านน้ำ
 
   กล้วยพัด


Google



 

ลำดวน
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อวิทยาศาสตร์   Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์   ANNONACEAE
ชื่ออื่น   หอมนวล

ไม้ต้น  ขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง 

เปลือก  สีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด  

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก   กว้าง  2.5 - 4  เซนติเมตร    ยาว  5 - 11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน 

ดอก  สีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนา และแข็ง  กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน  3   กลีบ  หุบเข้าหากัน   เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ   2 เซนติเมตร 

ลำดวน
 


 
ผล  เป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ   0.6  เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว

นิเวศวิทยา มีถิ่นกำเนิดในแถบอินโดจีน พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันออก และภาคกลางของ ประเทศไทย

ออกดอก ธันวาคม - มีนาคม

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด หรือตอนกิ่ง ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด โตช้า แต่แข็งแรง และทนแล้งได้ดี   ใช้เวลามากกว่า 5 ปี จึงจะออกดอก

ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ  

 

  ข้อมูลจาก : http://www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : สุวิวัฒน์  หงษ์สมบัติ